วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

          สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับวิจัย

ชื่่อวิจัย   ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีตอ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย 


ปริญญานิพนธ์  ของ สํารวย สุขชัย


เสนอตอบัณฑิตวิทยาลัย   มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเปนสวนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ตุลาคม 2554


 ความมุงหมายของการวิจัย 
         
1. เพื่อศึกษาระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย โดยรวมและจําแนก รายทักษะ กอนและหลังการจัดการเรียนรูตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
          
2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย โดยรวมและจําแนก รายทักษะ กอนและหลังการจัดการเรียนรูตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รายทักษะ  
        
3. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยจําแนก

 
ประชากรที่ใชในการวิจัยครั้งนี้           


          เปนเด็กปฐมวัย ชายหญิง อายุระหวาง 5–6 ปที่กําลัง ศึกษาอยูในระดับชั้นอนุบาลปที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปการศึกษา 2553โรงเรียนวัดยางสุทธาราม แขวงบานชางหลอ เขตบางกอกนอย สังกัดสํานักการศึกษากรุงเทพมหานคร จํานวน 4 หองเรียน หองเรียนละ 30 คน รวมทั้งหมด 120 คน 



การเก็บรวบรวมขอมูล

          การวิจัยครั้งนี้ เก็บขอมูลดวยการสังเกตและใชแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทาง วิทยาศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัย 2 ครั้ง คือ

1. ทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัย กอนการทดลอง (Pretest) กับกลุมตัวอยาง จํานวน 27 คน 

2. ทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัย หลังการทดลอง (Posttest) เปนการทดสอบเมื่อเสร็จสิ้นการจัดการเรียนรูตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ดวยแบบทดสอบชุดเดียวกันกับที่ใชในการทดสอบกอนการทดลองเพื่อเปรียบเทียบการพัฒนา ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย

 
เครื่องมือที่ใชในการวิจัย


1. แผนการจัดการเรียนรูตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มีตอทักษะ พื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย

2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรสําหรับเด็กปฐมวัย


สรุปผลงานวิจัย          


          ผลการวิจัยพบวา เด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดการเรียนรูตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีทักษะ พื้นฐานทางวิทยาศาสตรหลังการทดลองสูงกวากอนการทดลองอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ. 01


แนวคิดในการจัดการเรียนรู้

 ทฤษฎีในการเรียนรู้

รูปแบบแผนผังความคิด
แผนผังความคิด

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่16 30/09/56

          ในวันนี้อาจารย์เรียนให้นักศึกษาทุกคนที่ยังไม่ส่งงานในแต่ละชิ้น  นำมาส่งและนำเสนอหน้าชั้นเรียนให้ครบ

          โดยมีเพื่อนที่นำเสนอการทดลองทั้งหมดดังนี้
การทดลองที่1  การทดลองเรื่องผ้าเปลี่ยนสี
การทดลองที่2  การทดลองเรื่องกาลักน้ำ
การทดลองที่3  การทดลองเรื่องแรงโน้มถ่วงโลก
การทดลองที่4  การทดลองเรื่องทีเด็ดน้ำยาล้างจาน
การทดลองที่5  การทดลองเรื่องน้ำอัดลมฟองฟู
การทดลองที่6  การทดลองเรื่องพริกไทในน้ำ
การทดลองที่7  การทดลองเรื่องลาวาในขวด
การทดลองที่8  การทดลองเรื่องตกไท่แตก
การทดลองที่9  การทดลองเรื่องมะนาวลบหมึก

          จากนั้นอาจารย์ก็ได้เช็คงานของนักศึกษาแต่ละคนว่าขาดอะไรบ้างที่ต้องนำมาส่ง  และให้นำมาส่งให้ครบ

ประมวลภาพจากกิจกรรมการเรียนการสอนในวันนี้


วันนี้ดิฉันได้นำสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์มาส่งด้วย  และได้ประมวณภาพสาธิตการทำสื่อของดิฉันไว้ด้วยถ้าอยากรู้แล้วว่าคืออะไร กดคลิ๊กชมวิดีโอด้านล่างได้เลยคะ


 มันนคือของเล่น "ประทัดกระดาษ" นี่่เอง!!!  ทำง่ายและให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
****ถ้าเพื่อนๆคนไหนอยากรู้วิธการทำอย่าละเอียดสามารถย้อนกลับไปดูที่โพสต์เก่าของดิฉันได้เลยค่ะ

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่15 23/09/56

          วันนี้เป็นวันที่เราทำ Cooking กันในชั้นเรียน  ซึ่งเมนูที่ได้ทำในวันนี้ก็คือ "ข้าวผัดแฟนซี"  โดยเพื่อนๆในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายได้เตรียมอุปกรณ์ในการประกอบอาหารมาให้เกือบทั้งหมด แต่สิ่งที่แต่ละกลุ่มจะต้องเตรียมกันมาเพิ่มก็คือ  1.กระทะไฟฟ้า  2.ทับพี  3.ช้อน&ส้อม  และ4.จานไว้ใส่อาหารกิน เมื่อเพื่อนแจกวัตถุดิบและอุปกรณืในการทำอาหารครบแล้วก็เริ่มทำตามขั้นตอนที่เพื่อนบอก  เมื่อทำเสร็จเราทุกคนก็ได้รับประทานข้าวผัดฝีมือของตนเองกันกันอย่างเอร็ดอร่อย
วัสดุ&อุปกรณืการทำ
ขณะทำอาหาร
เสร็จแล้วค่ะ "ข้าวผัดของเรา"  น่ากินมากๆเลย^^


ประมวลภาพกิจกรรม

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่14 16/09/56

          วันนี้เป็นวันที่ได้เรียนกับอาจารย์เบียร์เป็นครั้งแรก  อาจารย์น่ารักและมีความเป็นกันเองกับนักศึกษามากๆ  กิจกรรมที่ได้ทำในวันนี้ก็คือ  การแบ่งกลุ่มเพื่อให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันวางแผนในการจัดประสบการณ์ในการทำอาหาร  โดยให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดเมนูในการทำอาหาร  ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้สรุปเมนูที่ได้ก็คือ  "ไข่ตุ๋นแฟนซี" จากนั้นอาจารย์ก็แจกอุปกรณ์ในการวางแผนมาก็คือ  กระดาษ 3 แผ่น และปากกาเมจิกสีกลุ่มละ 2 ชุด  และให้ลงมือทำกิจกรรมดังนี้

โดยในแผ่นนี้อาจารย์ให้ระดมความคิดในหัวข้ออะไรก็ได้ที่สัมพันธ์กับเมนูที่เราจะทำ


ในแผ่นนี้อาจารย์ให้ช่วยกันคิดขั้นตอนในการทำ  "ไข่ตุ๋นแฟนซี"

และในแผ่นนี้  ให้เขียนแผนการจัดประสบการณ์

จากนั้นก็ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานประมวนภาพ



ประมวลภาพกิจกรรมในวันนี้

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่13 09/09/56

          เนื่องจากวันนี้อาจารย์ไปราชการที่ต่างจังหวัด จึงไม่มีเรียนการเรียนการสอนค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนชดเชย 08/09/56

       วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาส่งสื่อเข้ามุม  ซึ่งสื่อเข้ามุมของกลุ่มดิฉันคือ  "วัฏจักรการเกิดฝน"

อุปกรณ์การทำมีดังนี้  
   
1.กล่องกระดาษ     
2.โฟม     
3.กระดาษสี    
4.ทิชชู่     
5.กาว     
6.กระดาษฟอล์ย     
7.แผ่นใส    
8.ไม่ตะเกียบ

วิธีทำ

-ขั้้นตอนการทำเรื่องที่ต้องการ   คือ  สามารถตกแต่งฐานได้ตามที่ต้องการตามจินตนาการ

-ขั้ันตอนการทำฐานกล่อง

1.ตัดโฟมให้มีขนาดพอกล่องโดยทำเป็นบล็อกเพื่อเสียบฐานที่้ต้องการสอน
2.ห่อกล่องกระดาษด้านในด้วยกระดาษฟอล์ยทั้งหมด
3.ห่่อกล่องกระดาษด้านนอกด้วยกระดาษสีที่หลากหลายสี  โดยขยำกระดาษก่อน
4.เจาะรูตรงกลางด้านหลังกล่องขนาดเส้นรอบวง  14 เซนติเมตร

-ขั้ันตอนการทำวงล้อหมุน

1.ตัดแผ่นใส่เปนรูปวงกลมขนาดเส้นรอบวง  13 เซนติเมตร  จากนั้นเจาะรูครงกลางของแผ่นใส
2.ติดลูกศรที่ทำจากเปเปอร์มาเช่  จำนวน 3 ชิ้นให้มีระยะห่างกัน 2 เซนติเมตร
3..ตัดไม้ตะเกียบยาวขนาด 5 เซนติเมต

4.เสียบไม้ตะเกียบที่รูตรงกลางแผ่นใส
5.ติดหัวไม้ตะเกียบด้วยกระดาษฟอยล์ ให้มีขนาดใหญ่กว่าไม้ตะเกียบเพื่อไม่ให้หลุด
6.เสียบไม้ตะเกียบที่ติดแผ่นใสลงบนฉากที่เจาะรูตรงกลางโดยห่างจากฉาก 1.5   เซนติเมตร   และติดกาวร้อนเพื่อไม่ให้ ไม้ตะเกียบหลุด

7.ติดกาวร้อนที่ไม้ตะเกียบส่วนที่อยู่ด้านหลังฉากโดยห่างจากฉาก เซนติเมตร
8.ติดลูกศรลงบนแผ่นใสจำนวน   3   ชิ้น   โดยให้มีระยะห่างกันประมาณ   2  เซนติเมต

ความคิดรวบยอด           สอนเรื่องการเกิดฝน

สื่อการสอนเรื่อง "วัฏจักรการเกิดฝน"

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่12 02/09/56

     เนื่องจากวันนี้อาจารย์ติดประชุม  จึงไม่มีการเรียนการสอน  และอาจารย์ก็ได้นัดให้มาเรียนในวันพรุ้งนี้
ดิฉันจึงใช้เวลาว่างจากการเรียนมาพัฒนาสื่อเข้ามุมของตนเองให้สมบูรณ์

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่11 26/08/56

เนื่องจากวันนี้เป็นวันเกษียนอายุราชการของอาจาย์ในคณะศึกษาศาตร์  นักศึกษาจึต้องเข้าร่วมพิธีเพื่อระลึกถึงคุณอาจารย์  และในวันนี้กลุ่มของดิฉันก็เได้รับมอบหมายงานในการแสดงการรำ ชุดแพรวากาฬสินธุ์ ด้วยค่ะ

ถ่ายรูปกับรุ่นพี่ศิษย์เก่าที่มาทำความเตารพอาจารย์ที่เกษียน

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่10 19/08/56

         ในวันนี้ดิฉันได้ดูเพื่อนนำเสนอการทดลองของเพื่อนๆ

         มีการทดลองต่างๆดังนี้

1.การทดลองสะพานกระดาษ
2.การทดลองทะเลในขวด
3.การสลายตัวของชอล์ก
4.การทดลองเป่าลูกโปร่งในขวด
5.การทดลองตะเกียบยกข้าวสาร
6.การทดลองอากาศต้องการที่อยู่
7.การทดลองกระป๋องบุบ 
8การทดลองเส้นด้ายยกน้ำแข็ง
9.การทดลองเหรียญลวงตา
10การทดลองยกขวดด้วยขวดน้ำ
11การทดลองน้ำแข็งลอยได้
12.การทดลองดอกไม้บาน
13.การทดลองลูกโป่งปะหลาด
14.การทดลองทิชชูพาเพลิน
15การทดลอง.ทีเด็ดน้ำยาล้างจาน
16.การทดลองฉันบู้บี้ไปหมดแล้ว

ผลประมวลภาพกิจกรรมในวันนี้

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรียนชดเชย 17/08/56

วันนี้ได้นำเสนอสื่อการทดลอง

การทดลองเรื่อง น้ำมาจากไหน


วัตถุประสงค์     
1.พัฒนาทักษะการสังเกตและการสื่อความหมาย 
2.พัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับน้ำในอากาศ
3.สร้างความสนใจในความมหัศจรรย์ของน้ำในอากาศ

อุปกร์ที่ต้องใช้         
1.น้ำแข็ง                                   
2. น้ำ                                         
3. แก้วน้ำ 2 ใบ

 วิธีทดลอง           
1.ครูนำแก้วมา 2 ใบ ให้เด็กช่วยเช็ดด้านนอกของแก้วน้ำให้แห้งและให้เด็กสัมผัสแก้วน้ำ (ด้านนอก)
2.รินน้ำลงในแก้วใบที่หนึ่งให้เต็ม (อย่าให้น้ำหกหรือล้นเปียกแก้วด้านนอก)
3.ใส่น้ำแข็งลงในแก้วอีกใบให้เต็มแก้ว ตั้งทิ้งไว้สักครู่
คำถาม
1.ผิวด้านนอกของแก้วที่ใส่น้ำ เปียกหรือแห้ง
2.ผิวด้านนอกของแก้วที่ใส่น้ำแข็ง เปียกหรือแห้ง
3.แก้วใบใดที่มีน้ำเกาะอยู่ด้านนออก
4.น้ำที่เกาะอยู่ข้างแก้วมาจากในแก้วใช่หรือไม่
5.แก้วรั่วหรือไม่

หลังถามคำถามเสร็จครูและเด็กๆช่วยกันสรุปเกี่ยวกับแนวคิดง่ายๆ เพียงว่า ในที่ว่างรอบๆแก้วมีอากาศ และในอากาศนั้นมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่ แต่เราไม่สามารถมองเห็นได้  ถ้าตัวแก้วมีความเย็นและโดนล้อมด้วนความร้อนจากอากาศรอบๆ แก้วก็จะมีน้ำออกมาเกาะที่ข้างแก้วด้านนอก เรียกสิ่งว่า การระเหย (แต่ยังไม่ต้องอธิบายเรื่องไอน้ำ และการควบแน่น เพราะเด็กยังไม่เข้าใจ ถ้าอธิบายมากเกินไป เด็กจะรู้สึกเบื่อและไม่สนุก)

ทักษะที่เด็กรับได้จากการทดลอง   
1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการสื่อความหมาย
3.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
4.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา

ประมวลผลภาพกิจกรรมในวันนี้


        อาจารย์ให้จับคู่กับเพื่อน แล้วออกมาเลือกกล่องกระดาษเพื่อให้นักศึกษาไปช่วยกันคิดวิธีประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์เข้ามุม  โดยดัดแปลงจากกล่องกระดาษที่อาจารย์แจกให้ เป็นงานคู่


วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่9 12/08/56

       วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นวันแม่แห่งชิาติค่ะ อย่าลืมแสดงความรักต่อแม่กันมากๆนะค่ะ

พวงมาลัยนี้หนูไหว้ที่ตักของแม่

อยากตะโกนให้คนทั้งโลกได้ยิน

วันจันทร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่8 05/08/56

วันนี้ยังอยู่ในช่วงของการสอบกลางภาคในวันสุดท้าย  จึงไม่มีการเรียนการสอนค่ะ

จะสอบเสร็จแล้ว เย้!!!

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่7 29/07/56

วันนี้เป็นวันสอบกลางภาค  30/07/56 -05/08/56 จึงไม่มีการเรียนกานสอน


                                                                        ตั้งใจสอบกันน๊า  เด็กๆๆ^^


เรียนชดเชย 28/07/56

     วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์โดยเพื่อนๆได้ออกมานำเสนอสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์มีทั้งหมดดังนี้

1.ไก่กระต๊าก
2.เป่าหลอดลูกบอล
3.ลูกข่างกระดาษ
4.กังหันลมจิ๋ว
5.คอปเตอร์จากไม้ไอติม
6.ลูกโป่งโบวลิง
7.โยโย่กระดาษ
8.ลูกข่างแผ่นซีดี
9.เรือพลังยาง
10รถไถจากหลอดได้


ประมวลภาพกิจกรรมในวันนี้


          ซึง่ในวันนี้ดิฉันได้ออกไปนำเสนอสื่อ  "สามใบพัด" แต่อาจารย์บอกว่าวิธีการทำมันคล้ายกับของพื่อนที่ทำ  "กังหันลมจิ๋ว"  อาจารย์จึงให้กลับมาคิดสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ใหม่  โดยสื่อที่ดิฉันคิดมาใหม่ก็คือ 

สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์  "ประทัดกระดาษ" มีขั้นตอนในการทำดังต่อไปนี้

วัสดุ/อุปกร์
1.กระดาษA4 หรือ จะเป็นแบบรีไซเคิลก็ได้จำนวน 1 แผ่น
2.ปากกาเคมีสีต่างๆเพื่อใช้ในการตกแต่งให้สวยงาม

มีวิธีการทำดังต่อไปนี้









หลักการและเหตุผล

           เนื่องจากเสียงในธรรมชาติเกิดจากการสั่นของวัตถุ การเหวี่ยงประทัดกระดาษทำให้เกิดเสียงดังขึ้น  เพราะว่าการสั่นของกระดาษส่วนหนึ่งที่โผล่ออกมาในทันทีขณะที่เรากำลังเหวี่ยงนั้นกระดาษส่วนนี้ได้ไปกระทบกับอากาศอย่างแรงทำให้อากาศมีการสั่น และการสั่นของอากาศนี้เองที่ทำให้หูและส่วนประกอบภายในหูเกิดการได้ยินเสียง

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่6 22/07/56

วันนี้เป็นวันหยุดเนื่องจากเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือวัน อาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษา




วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่5 15/07/56

วันนี้อาจารย์ได้นัดเรียนชดเชยและให้นักศึกษานำเสนอของเล่นวิทยาศาสรต์ของตนเองและของเล่นที่ดิฉันได้นำมาเสนอคือ  "หมึกล่องหน" ซึ่งอาจารย์บอกว่ามันเป็นเรื่องของการทดลอง  จึงให้ไปหาของเล่นมาใหม่และเตรียมมาสาธิตการทำและการเล่นในอาทิตย์หน้า

            ซึ่่งของเล่นที่เพื่อนนำเสนอมีดังนี้
1.เลี้ยงลูกบอลด้วยลม          
2.กังหันลม 
3.ไก่กระต๊าก                         
4.เครื่องบินแรงดันอากาศ     
5.เป่าลม                               
6.ไข่ล้มลุก                    
7.ปีนขวดน้ำ                      
8.เรือพลังยาง                     
9.จานหมุนมีชีวิต  
10.กล้องผสมสี                     
11.ขวดผิวปาก


         ซึ่งในวันนี้มีเพื่อนที่ออกมานำเสนอเป็นการทดลองอยู่หลายคน  และที่ยังไม่ออกมาน้ำเสนอก็มีอยู่หลายคนเช่นกันอาจารย์เลยให้ความหมายของจองคำว่า "ของเล่นวิทยาศาสตร์" ให้ฟังดังนี้

         ของเล่นวิทยศาสตร์  หมายถึง  การประดิษฐ์สิ่งของที่เราสามารถเล่นได้  ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน  และได้รับความรู้จากการเล่น ซึ่งเป็นของเล่นทางวิทยาศาสตร์ที่เด็ก ๆ สามารถทำตามได้  เป็นสิ่งของที่มีความง่ายในการทำ  ไม่อันตรายในการทำและการเล่น  ซึ่งอาจจะทำด้วยวัสดุเหลือใช้ที่เรามีอยู่แล้วก็ได้ ที่เหลือจากการใช้งานไปแล้ว 

     ซึ่งสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ที่่ดิฉันหามาใหม่ก็คือ  THREE BLADE FAN  มีวิธีทำดังเช่นวิดีโอด้านล่างนี้


วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่4 08/07/56

         วันนี้อาจารย์แจกกระดาษ  A4  ให้คนละ  1  แผ่น  เพื่อให้ทำสมุดเล่มเล็ก  โดยพับกระดาษให้ได้ทั้งหมด  8  ช่อง  จากนั้นก็ใช้กรรไกรตัดกระดาษให้ได้ทั้งหมด  8  ใบ  และเย็บสันสมุด  ก็จะได้ออกมาเป็นสมุดเล็มเล็กดังนี้

          จากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาวาดภาพอะไรก็ได้ในหน้าแรก และเปิดหน้าถัดไปวาดรูปให้เหมือนกับหน้าแรก  แต่ให้เพิ่มลายละเอียดประกอบขึ้นอีก  1  รายละเอียด โดยจะทำแบบนี้ในหน้าถัดไป  ทำเรื่อยๆจนกว่าจะหมดเล่ม  จะได้รูปแต่ละหน้าดังนี้



        จากนั้นก็ให้นักศึกษาทำการทดลองโดยการเปิดสมุดที่วาดอย่างลวดเร็วติดต่อกันก็จะได้ภาพดังต่อไปนี้





         เมื่อจบการทดลองที่หนึ่งแล้วอาจารย์ก็ได้แจกกระดาษ  A4  เพิ่ม  โดยให้ตัดกระดาษให้ได้ขนาดเท่ากับการทำสมุดเล่มเล็กและแบ่งกับเพื่อนอีก 3  คน  ก็จะได้กระดาษคนละ  2  แผ่น ให้วาดภาพในแผ่นที่ 1  ก่อนแล้วก็วาดในแผ่นที่ 2  โดยต้องวาดภาพที่มีความสัมพันธ์กันกับภาพแรกโดยไม่ให้ภาพที่วาดทับลงบนรอยเดิมและนำกระดาษทั้งสองแผ่นติดประกบเข้ากันกับดินสอดังนี้




          จากนั้นให้นักศึกษาทำการทดโดยการหมุนดินสอสลับกันไปมาให้เร็วที่สุดก็จะได้ภาพดังงนี้




-ดู มหัศจรรย์ของน้ำ


วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่3 01/07/56

          ในวันนี้อาจาจารย์พูดถึงเรื่องของรูปแบบวิธีกในการนำเสนองานที่สอดคล้องและเหมาะสมกับเนื้อหา ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้นำเสนอไปในรูปแบบของ "แผนผังความคิด"  อาจารย์บอกว่าวิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีที่ดี พอใช้ได้ แต่ยังไม่ไม่เห็นถึงสิ่งที่นำเสนออย่างชัดเจน  ซึ่งอาจารย์บอกว่าวิธีที่มีความเหมาะสมมากที่สุดก็คือ "การแกดงตารางเปรียบเทียบ"  เพราะสามารถสื่อถึงสิ่งที่ต้องการแสดงให้เห็นได้มากที่สุด  ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้





        จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาในห้องช่วยกันสรุปองค์ความรู้ที่ได้เรียนไปในอาทิตย์ที่แล้วโดยนำเสนอออกมาในรูบแบบของ "แผนผังความคิด"ซึงสาสามารถสรุปผลได้ดังนี้

ผลสรุปองค์ความรู้











          จากนั้ันอาจารย์ก็ให้ดูวิดีโอเรื่อง  ความลับของแสง  สรุปได้ดังนี้


สรุปองค์ความรู้เรื่อความลับของแสง















วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เรียนครั้งที่2 24/06/56

         อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กุลุ่ม และแจกใบความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 1 ชุด มีทั้งหมดด้วยกัน 5 หัวข้อ ดังนี้
1. ความหมายและความสำคัญทางวิทยาศาสตร์
2. ทฤษฎีทางสติปัญญา 
3. การเรียนรู้ 
4. แนวคิดทางวิทยาศาสตร์ 
5. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เพื่อให้สมาชิกแต่ละกลุ่มแบ่งกันอ่านและสรุปในแต่ละหัวข้อลงในสมุดของตนเอง จากนั้นก็ให้นำเนื้อหาที่สรุปได้ทั้งหมดมาสรุปร่วมกันกับเพื่อนในกลุ่มอีกครั้ง ดิฉันได้หัวข้อที่ 1 เรื่องความหมายและความสำคัญทางวิยาศาสตร์ และได้สรุปไว้ดังนี้


ดิฉันสรุปได้ดังนี้

- ความหมายของวิทยาศาสตร์ คือ กระบวนการที่ใช้ในการค้นหาความรู้อย่างเป็นระบบ สามารถพิสูจน์ได้ เป็นข้อเท็จจริง

- ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ คือ วิทยาศาสตร์มีความสำคัญกับสังคมปัจจุบันแะอนาคต เพราะมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคนในการดำรงชีวิตปแระจำวัน และเทคโนโยีก็มีส่วนสำคัญในการค้นคว้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ก็คิดค้นเทคโนโลยี ทุกคนจะต้องได้รับการพัฒนาความารู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตของเราให้ดำเนินไปอย่างมีคุณภาพ

กลุ่มของดิฉันสรุปได้ดังนี้

- ความหมายของวิทยาศาสตร์ คือ การศึกษาค้นคว้าทดลองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในธรรมชาติ ที่มีกระบวนการที่ใช้อย่างเป็นระบบ เพื่อนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้กับการดำเนินชีวิตของมนุษย์

- ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ คือ วิทยาศาสตร์มีความสำคัญกับชีวิตปัจจุบันและอนาคต เพราะมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต เทคโนโลยีเองก็เป็นผลผลิตของวิทยาศาสตร์ ดังนั้นเราจึงต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อนำความรู้ไปใช้กับเทคโนโลยีเพื่อดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข

จากน้ั้นอาจารย์ก็ให้ตัวแทนของกลุ่มนำผลสรุปของกลุ่มในแต่ละหัวข้อที่ได้ไปเล่าให้เพื่อนกลุ่มอื่นๆฟังและถามความคิดเห็นของเพื่อนว่าอยากจะเพิ่มเติมเนื้อหาในหัวข้อนั้นๆอย่างไร และให้เขียนสรุปออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน กลุ่มของดิฉันสรุปออกมาในรูปแบบของ Mind Mapping ดังนี้


รูปแบบในการนำเสนอ
กระบวนการทางสมอง
สรุปอค์วามรู้ที่ได้

จากนั้นอาจารย์ก็เปิด VDO เรื่องอากาศมหัศจรรย์ มาเปิดให้ดู 


สรุปเรื่อง อากาศมหัศจรรย์

อากาศ คือ  ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ  และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่  ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน  นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ  ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย  อากาศมีอยู่รอบ ๆ  ตัวเราทุกหนทุกแห่ง  ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน  อากาศมีอยู่ในบ้าน  มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์  อากาศไม่มีสี  ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น 

บรรยากาศคืออะไร 

บรรยากาศคือ  ชั้นของอากาศที่ล้อมรอบโลกและด้วยแรงดึงดูดของโลกทำให้บรรยากาศคงสภาพอยู่ได้บรรยากาศมีความหนา 310 ไมล์ และมีถึง 4 ชั้น  นักวิทยาศาสตร์แบ่งบรรยากาศออกเป็น 4 ชั้น  ตามอุณหภูมิ  ชั้นแรกมีชื่อเรียกว่า โทรโพสเฟียร์ (Troposhere)  ชั้นสูงถัดจากโทรโพสเฟียร์ คือ ชั้นสตราโตสเฟียร์ (Stratoshere)  เมโสสเฟียร์ (Mesosphere)  และชั้นบนสุดคือ เทอร์โมสเฟียร์ (Thermoshere)  อากาศในบรรยากาศแต่ละชั้นจะแตกต่างกัน  แต่ในทุก ๆ ชั้นล้วนเป็นส่วนสำคัญของสิ่งแวดล้อมของโลก


ความสำคัญของอากาศและบรรยากาศ

1. มีก๊าซที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์ สัตว์และพืช

2. มีอิทธิพลต่อการเกิด ปริมาณ และคุณภาพของทรัพยากรอื่น เช่น ป่าไม้และแร่ธาตุ  ทำให้เกิดลมและฝน
3. ช่วยปรับอุณหภูมิของโลก โดยเฉพาะไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งจะช่วยป้องกันการสูญเสียความร้อนจากพื้นดิน ทำให้ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืน และ ฤดูร้อนกับฤดูหนาวไม่แตกต่างกันมาก และทำให้บริเวณผิวโลกมีความอบอุ่นขึ้น
4. มีผลต่อการดำรงชีวิต สภาพจิตใจ และร่างกายของมนุษย์ ถ้าสภาพอากาศไม่เหมาะสม เช่น แห้งแล้งหรือหนาวเย็นเกินไปคนจะอยู่อาศัยด้วยความยากลำบาก
5. ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีของดวงอาทิตย์ โดยก๊าซโอโซนในบรรยากาศจะกรองหรือดูดซับรังสีอัลตราไวโอเลต ซึ่งทำให้ผิวไหม้เกรียม เป็นโรคมะเร็งผิวหนัง และโรคต้อกระจก
6. ช่วยเผาไหม้วัตถุที่ตกมาจากฟ้าหรืออุกกาบาตให้กลายเป็นอนุภาคเล็กๆ จนไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และทรัพย์สิน